นักวิจัยพบแนวทางใหม่เพื่อรักษาชีวิตผู้ป่วย โรคหัวใจ




ศาสตราจารย์ นายแพทย์ สเวน เอจ มอร์เทนเซ่น หัวหน้าคณะนักวิจัย จาก ศูนย์โรคหัวใจ แห่งมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก ได้เปิดเผยถึงผลการศึกษา การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจวายเรื้อรัง ด้วยการใช้ โคเอนไซม์คิว-10 (coenzyme Q10,Bio-Quinone-Q10TM) ร่วมกับ การใช้ยารักษาตามแบบมาตรฐานเดิม

การศึกษาในครั้งนี้มีผู้ป่วยด้วยโรคหัวใจวายเรื้องรังจากหลายประเทศ เข้าร่วมการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น

420 คน โดยแบ่งคนไข้เป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก รับประทานยารักษาเดิม+โคเอนไซม์คิว-10 วันละ 300 มก. ในขณะที่คนไข้ในกลุ่มที่สอง รับประทานยารักษาเดิม+ยาหลอก(placebo) หลังจากนั้นนักวิจัยได้ทำการติดตามผลการรักษาเป็นเวลา 2 ปี พบว่า กลุ่มคนไข้กลุ่มแรก ซึ่งรับประทานยารักษาเดิม+โคเอนไซม์คิว-10 มีอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจ น้อยกว่า กลุ่มคนไข้ที่รับประทานยารักษาเดิม ถึง 43%

ศ.นพ.สเวน เอจ มอร์เทนเซ่น ได้กล่าวถึงการศึกษาครั้งนี้ว่า “การใช้สูตรยาแบบมาตรฐานรักษาคนไข้โรคหัวใจวายทั่วไป เป็นการรักษาเพื่อมุ่งเน้นที่การควบคุมการหลั่งหรือผลของสารต่างๆที่ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในคนไข้โรคหัวใจวาย เท่านั้น การให้สารโคเอนไซม์คิว-10 เพิ่มเข้าไปในการรักษา จะช่วยให้ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีพลังงาน และทำงานได้อย่างแข็งแรงขึ้น เป็นผลให้อาการของคนไข้ดีขึ้น”

แหล่งที่มา:Journal of the American College of Cardiology,HEART FAILURE,online Oct.2014

โคเอนไซม์คิว-10 กับ บทบาทในร่างกาย

โคเอนไซม์คิว-10 เป็นสารที่พบได้ในทุกๆเซลล์ของร่างกาย และพบมากในอวัยวะสำคัญที่จำเป็นต้องใช้พลังงานสูง เช่น กล้ามเนื้อหัวใจ ไต สมอง. โคเอนไซม์คิว-10 มีบทบาทในการสร้างพลังงานในเซล์ต่างๆเพื่อให้อวัยวะได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ระดับโคเอนไซม์คิว-10 จะลดลงเรื่อยๆตามอายุ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ส่งผลถึงความเสื่อมของเซลล์และอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรังต่างๆ